เทคนิคการยืดอายุอาหาร และเครื่องดื่ม ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

       ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของ COVID-19  อยู่นั้น การกักตัวอยู่บ้าน หรือ Work From Home นำไปสู่ความจำเป็นที่จะต้องมีการกักตุนอาหารมากขึ้น ซึ่งการเก็บรักษาอาหารและเครื่องดื่มภายในบ้านอย่างเหมาะสมให้อยู่ได้นานจนไปถึงมีความปลอดภัยต่อการบริโภคนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ ขณะเดียวกันสำหรับภาคอุตสาหกรรมอาหาร ก็ถือเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องอาศัยเทคนิคการแปรรูปต่างๆ เช่น ความร้อน ความเย็น มาช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์อาหารของตนให้มีอายุการเก็บที่ยาวนานขึ้น      โดยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 คณาจารย์จากกลุ่มวิชาอาหารและโภชนาการ สาขามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เข้าร่วมรับฟังบรรยายพิเศษจาก ดร.…

Continue Readingเทคนิคการยืดอายุอาหาร และเครื่องดื่ม ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

แนวทางการให้โภชนบำบัดแก่ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ภายหลังพ้นภาวะวิกฤต

        แม้ว่าสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย กำลังเริ่มผ่อนคลายลงตามลำดับ และที่ผ่านมาผู้ป่วยวิกฤตในประเทศไทยมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ถือเป็นข้อมูลที่แพทย์และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องควรตระหนัก เพื่อเตรียมความพร้อมในกรณีที่จำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้           โดยเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 คณาจารย์จากกลุ่มวิชาอาหารและโภชนาการ สาขามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เข้าร่วมฟังสัมมนาออนไลน์ (Webinar) เกี่ยวกับการดูแลด้านโภชนาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในหัวข้อ “Implication on…

Continue Readingแนวทางการให้โภชนบำบัดแก่ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ภายหลังพ้นภาวะวิกฤต

โภชนาการเพื่อชีวิตประจำวัน และรับมือกับ COVID-19

 การมีภาวะโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีได้ตลอดช่วงชีวิต แม้กระทั่งในยามที่เกิดโรคระบาดอย่าง covid-19 นี้ การรับประทานอาหารให้เหมาะสมถูกหลักโภชนาการก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางแขนงอาหารและโภชนาการ สาขามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยังมีคำแนะนำดีๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการที่ทั้งใช้ได้ในยามวิกฤต COVID-19  และในชีวิตประจำวันมานำเสนอกัน อย่าลืมคุมปริมาณอาหาร การอยู่บ้านเป็นเวลานาน ไม่ได้พบปะเพื่อนฝูงอย่างที่เคย รวมไปถึงมีการดำเนินกิจกรรมประจำวันลดลง ร่วมกับการที่บางคนหันมาประกอบอาหารด้วยตัวเองมากขึ้น หรือสั่งจากบริการ Delivery มากขึ้น ล้วนแต่มีแนวโน้มให้ผู้คนได้รับอาหารมากเกินความต้องการในแต่ละวัน ซึ่งการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไปนี้ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนตามมาได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำจากสถาบันต่างๆ เช่น ตามธงโภชนาการของกรมอนามัย และอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม เช่น สัดส่วน 2:1:1…

Continue Readingโภชนาการเพื่อชีวิตประจำวัน และรับมือกับ COVID-19