You are currently viewing การศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนด้านอาหาร โภชนาการ และพัฒนาการมนุษย์และครอบครัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์  19-21 ก.ค. 2566 ณ จังหวัดภูเก็ต

การศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนด้านอาหาร โภชนาการ และพัฒนาการมนุษย์และครอบครัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ 19-21 ก.ค. 2566 ณ จังหวัดภูเก็ต

หลักการและเหตุผล

จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ และเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเล อันดามัน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีศักยภาพเอื้อต่อการลงทุน และมีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม โดยทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ มีระบบการศึกษานานาชาติที่มีมาตรฐานระดับสากล เป็นเมืองนวัตกรรมการบริการ มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ประชาชนและนักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทุนทางธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถสนับสนุนการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรในสาขาวิชาฯ ทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอนด้านอาหาร โภชนาการ และการพัฒนาครอบครัวและสังคม โดยการศึกษาดูงาน ณ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และโรงเรียนกาละพัฒน์ จังหวัดภูเก็ต เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ และเกิดการสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนาการเรียนการสอนของสาขาวิชาฯ ในอนาคต

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้านอาหาร โภชนาการ และพัฒนาการมนุษย์และครอบครัวระหว่างสถาบัน
  2. เพื่อเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โรงเรียนกาละพัฒน์ จังหวัดภูเก็ต และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การศึกษาดูงาน ณ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เน้นการผลิตบัณฑิต ให้มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และนำความรู้ไปประยุกต์ เพื่อการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 เป็นหลักสูตรที่ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ ที่ผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 127 หน่วยกิต โดยคุณสมบัติผู้สมัคร คือ สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า เป็นหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ที่มีองค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ และเกี่ยวข้องกับงานด้าน คหกรรมศาสต์ เช่น ผ้า การแกะสลัก การจัดดอกไม้ เป็นต้น

 

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ต้อนรับคณาจารย์และบุคลากร สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์

การบรรยายจากสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

สนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ประธานกรรมการประจำสาขาวิชาฯ มอบของที่ระลึก
และกล่าวขอบคุณ

การศึกษาดูงาน โรงเรียนกาละพัฒน์ จังหวัดภูเก็ต

โรงเรียนกาละพัฒน์ จังหวัดภูเก็ต ตั้งขึ้นบนฐานของความเชื่อที่ว่า “เด็กทุกคนคือปัจเจก มีอิสระในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เด็กไม่ใช่ทรัพย์ที่เป็นสมบัติของใคร” เด็กแต่ละคนมีจังหวะนาฬิกาชีวิตเป็นของตัวเอง หากเราพัฒนาเขาให้เติบโตบนจังหวะเวลาของเขาได้ เขาจะงอกงามได้อย่างมีความสุขในแบบที่เป็นตัวเองได้ โดยมีหลักสูตรการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน การออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง การบูรณาการองค์ความรู้ผ่านการปฏิบัติจากการทำโครงงานตามกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem-based Learning โดยอ้างอิงให้สอดคล้องกับมาตรฐาน และตัวชี้วัดของหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เพื่อพัฒนาการคิดหลายระดับและการออกแบบการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่ความเข้าใจ (Teaching for Understanding)


โรงเรียนกาละพัฒน์ ออกแบบการเรียนการสอนผสมผสานแนวคิดหลายอย่างที่เชื่อมโยงกับโลกและชีวิตจริง ได้แก่ การออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง การบูรณาการองค์ความรู้ การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจากการทำโครงงาน เพื่อพัฒนาการคิดหลายระดับและการออกแบบการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่ความเข้าใจ (Teaching for Understanding) โดยจัดทำเป็นหน่วยการเรียนแบบบูรณาการที่ผสมผสานทุกแนวคิดข้างต้น และให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเป็นผู้เลือกหัวข้อ ที่จะเรียนร่วมกันด้วย ในแต่ละหน่วยการเรียนจะใช้เวลา 10 สัปดาห์ ทั้งนี้ยังต้องให้สอดคล้องกับมาตรฐาน และตัวชี้วัดของหลักสูตรระดับชาติ ส่วนวิชาที่เป็นทักษะพื้นฐานได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และ คณิตศาสตร์ ได้แยกออกมาสอนเป็นรายวิชาเฉพาะ

โรงเรียนกาละพัฒน์ จังหวัดภูเก็ต ต้อนรับคณาจารย์และบุคลากร สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์

การทำกิจกรรมจิตศึกษา

การร่วมทำกิจกรรมต่างๆ

การร่วมทำกิจกรรมต่างๆ 

การร่วมทำกิจกรรมต่างๆ

ประธานกรรมการประจำสาขาวิชาฯ มอบของที่ระลึกและกล่าวขอบคุณ

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากการศึกษาดูงานของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน สรุปผลการศึกษาดูงาน

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากการศึกษาดูงานของบุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุนของสาขาวิชาฯ

สรุปผลการศึกษาดูงานของบุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุนของสาขาวิชาฯ

Leave a Reply