รายงานผลสำรวจความพึงพอใจการให้บริการของสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
กิจกรรมเสวนาวิชาการยามเที่ยง “Academic Lunch Talk”
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
กิจกรรมเสวนาวิชาการยามเที่ยง “Academic Lunch Talk”
ด้วยความรู้ทางวิชาการที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง และด้วยความหลากหลายของวิชาการในสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ คณะทำงานพัฒนาวิชาการ วิจัย บริการสังคม และวิเทศสัมพันธ์ จึงพิจารณาเห็นว่าการมีกิจกรรมเสวนาวิชาการยามเที่ยง โดยการใช้เวลาช่วงระหว่างการรับประทานอาหารกลางวัน/อาหารว่าง/น้ำชา/กาแฟ เพื่อการรับฟังสาระทางวิชาการที่มีประโยชน์ในหลากหลายมิติที่สอดคล้องกับวิชาการในสาขาวิชาฯ และทันต่อสถานการณ์ โดยเปิดกว้างเรื่องที่จะนำมาเสวนา อาจจะเป็นประเด็นปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาฯ ทฤษฎี/หลักวิชาการหรือข้อค้นพบจากการวิจัย ประสบการณ์จากการอบรม/สัมมนา และลักษณะงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน/การบริหารจัดการของสาขาวิชาฯ การจัดกิจกรรมดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคลากรของสาขาวิชาฯ การพัฒนางานของสาขาวิชาฯ การสนับสนุนระบบการเรียนการสอนทางไกล การให้บริการแก่นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย
การจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการยามเที่ยง “Academic Lunch Talk” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ของสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
ลำดับที่ | หัวข้อการเสวนา | ผู้เสวนา | วันที่จัดกิจกรรม |
1 | เครื่องมือเพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ | อ.วราลี จ้อยมาก | ครั้งที่ 1/2565 วันพุธที่ 19 มกราคม 2565 |
2 | เทรนด์อาหาร ปี 2565 (Food trend overview 2022) | อาจารย์ ดร.วิมลิน ริมปิกุล | ครั้งที่ 2/2565 วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 |
3 | แผนปรับแต่งแปลงโฉมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2565-2569 | อาจารย์ ดร.วรรณารัตน์ ลีสุขสวัสดิ์ และ อาจารย์ ดร.พิศุทธิภา เมธีกุล | ครั้งที่ 3/2565 วันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 |
4 | แนวคิดการจัดการมหาวิทยาลัยวัยที่สาม | อาจารย์ ดร.วรรณารัตน์ ลีสุขสวัสดิ์ และ อาจารย์ ดร.ภาวินี อินทร์มณี | ครั้งที่ 4/2565 วันพุธที่ 20 เมษายน 2565 |
5 | เทคนิคการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน | นางจันทณา ภาชนะทิพย์ นางอารีรัตน์ ถือธรรม และนางสาวจรรยา พึ่งสอน | ครั้งที่ 5/2565 วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2565 |
6 | หลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ในมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช | อาจารย์ ดร.วรรณารัตน์ ลีสุขสวัสดิ์ และอาจารย์วราลี จ้อยมาก | ครั้งที่ 6/2565 วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565 |
7 | การผลิตไข่เค็มและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง | อาจารย์ ดร.สุพัชชา ขับกล่อมส่ง | ครั้งที่ 7/2565 วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 |
8 | ประสบการณ์ศึกษาดูงาน หลักสูตร BAScii สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | อาจารย์ ดร.วิมลิน ริมปิกุล | ครั้งที่ 8/2565 วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 |
9 | Determinants of complementary feeding practices | อาจารย์อภิรัตน์ ศุภธนาทรัพย์ | ครั้งที่ 9/2565 วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 |
ผลประเมินความพึงพอใจการจัดกิจกรรม “เสวนาวิชาการยามเที่ยง” ” (Academic Lunch Talk)
โดยความพึงพอใจที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรม “เสวนาวิชาการยามเที่ยง” (Academic Lunch Talk) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทุกข้อมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุด มี 1 ข้อ คือ ช่องทางในการจัดกิจกรรมเสวนามีความเหมาะสม (Microsoft Teams) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 รองลงมาคือ ความพร้อมของระบบออนไลน์ (Microsoft Teams) เช่น สัญญาณภาพและเสียง และระยะเวลาในการเสวนามีความเหมาะสม (1 ชั่วโมง) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 ความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนา มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 การประชาสัมพันธ์กิจกรรมเสวนา การตอบข้อซักถามในการเสวนา และ การเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 เนื้อหามีความทันสมัย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.88 ความน่าสนใจของเนื้อหาที่นำเสนอ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 ความเหมาะสมของช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม (เดือนละ 1 ครั้ง) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 และความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานของสาขาวิชาฯ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 ตามลำดับ โดยมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนา เท่ากับ 4.88
หัวข้อ | ระดับความพึงพอใจ | ||
X | SD | แปลผล | |
1. การประชาสัมพันธ์กิจกรรมเสวนา | 4.89 | 0.38 | มากที่สุด |
2. ความน่าสนใจของเนื้อหาที่นำเสนอ | 4.87 | 0.40 | มากที่สุด |
3. เนื้อหามีความทันสมัย | 4.88 | 0.37 | มากที่สุด |
4. ความเหมาะสมของช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม (เดือนละ 1 ครั้ง) | 4.86 | 0.41 | มากที่สุด |
5. การตอบข้อซักถามในการเสวนา | 4.89 | 0.38 | มากที่สุด |
6. ช่องทางในการจัดกิจกรรมเสวนามีความเหมาะสม (Microsoft Teams) | 4.92 | 0.30 | มากที่สุด |
7. ความพร้อมของระบบออนไลน์ (Microsoft Teams) เช่น สัญญาณภาพและเสียง | 4.91 | 0.34 | มากที่สุด |
8. ระยะเวลาในการเสวนามีความเหมาะสม (1 ชั่วโมง) | 4.91 | 0.36 | มากที่สุด |
9. การเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น | 4.89 | 0.38 | มากที่สุด |
10. ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ | 4.78 | 0.46 | มากที่สุด |
11. ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานของสาขาวิชาฯ | 4.84 | 0.41 | มากที่สุด |
12. ความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนา | 4.90 | 0.35 | มากที่สุด |
ค่าเฉลี่ยรวม | 4.88 | 0.38 | มากที่สุด |