โครงการศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนด้านอาหาร โภชนาการ และพัฒนาการมนุษย์และครอบครัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ ระหว่างวันที่ 14 – 16 สิงหาคม 2567 จังหวัดอุดรธานี
หลักการและเหตุผล
อุดรธานี เป็นจังหวัดหนึ่งในเขตพื้นที่อีสานตอนเหนือที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก อุดรธานี จึงมีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสูงมาแต่โบราณ นอกจากนั้น ยังเป็นพื้นที่ซึ่งมีความ หลากหลายทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เพราะมีชุมชนต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และที่สำคัญอุดรธานียังเป็นดินแดนแห่งความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านทรัพยากร ป่าไม้ สวนหินธรรมชาติ น้ำตก หนองน้ำ และเกลือสินเธาว์ รวมไปถึงความรุ่งเรืองทางด้านศาสนา และวัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี เป็นองค์กรหลักในการบูรณาการ นำทุนทางวัฒนธรรมมา สร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในด้านองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น อาหารพื้นเมืองโบราณสถานและวัตถุ กลุ่มชาติพันธุ์ และมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพทุนทาง สังคมที่มาจากรากฐานวัฒนธรรมให้มีความเข้มแข็ง อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยมิติทางวัฒนธรรม
สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มุ่งมั่นสู่ ความเป็นเลิศด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์พัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่สากล โดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการใช้ชีวิตทั้งทักษะพื้นฐานและทักษะสากล สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี ประสิทธิภาพ มีความเป็นมนุษย์ ที่พร้อมเรียนรู้พัฒนาตนและอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีจิต วิญญาณ มีความรอบรู้ มีจิตบริการสาธารณะ เห็นคุณค่าและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ซึ่งยึด ประโยชน์ของส่วนรวม โดยมีการจัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อคนทุกช่วงวัย สนับสนุนงานวิจัยและสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล มีบริการวิชาการที่สอดคล้องต่อความต้องการของท้องถิ่นเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เป็นแหล่ง วิชาการเพื่อการเรียนรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมที่มีคุณภาพ บูรณาการ ศาสตร์สากลและภูมิปัญญาไทย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และ เทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ผลงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ มีการส่งเสริมและสนับสนุนทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมไทย ซึ่งการศึกษาดูงานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชาฯ ในด้านการจัดการเรียนการสอน และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหลักสูตรระหว่างสถาบัน
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรในสาขาวิชาฯ ทั้ง สายวิชาการและสายสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอนด้านอาหาร โภชนาการ และการพัฒนาครอบครัว และสังคม โดยการศึกษาดูงาน ณ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชา เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี และสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดอุดรธานี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ในด้านการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน และเกิดการสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนาองค์กร และการเรียนการสอนของ สาขาวิชาฯ ในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้านอาหาร โภชนาการ และพัฒนาการมนุษย์ และครอบครัวระหว่างสถาบัน
2. เพื่อเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชา เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี และมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช
การศึกษาดูงาน ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี เป็นองค์กรหลักในการบูรณาการ นำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในด้านองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น อาหารพื้นเมืองโบราณสถานและวัตถุ กลุ่ม ชาติพันธุ์ และมรดกทางวัฒนธรรม โดยเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีส่วนร่วมและยังอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม และสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงไว้อย่างมั่นคง ซึ่งจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับมา พัฒนาการเรียนการสอน และเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรด้วยมิติทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็น เอกลักษณ์ของความเป็นชาติ เป็นรากฐานของการสร้างสรรค์ความสามัคคี และความมั่นคงของประเทศชาติ ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง ปรากฏเป็นเอกลักษณ์ อันโดดเด่นของชาติประกอบด้วย ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี โบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็น แบบแผน และวิถีชีวิตอันดีงามที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
โดยมีหัวข้อในการศึกษาดูงาน ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของสำนักงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนปฏิบัติการประจำปีและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ผลการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัด โครงสร้างองค์กร ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กลุ่ม กิจการพิเศษ ฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 9 อุดรธานี กลุ่มพิธีการศพที่ ได้รับพระราชทาน หลักเกณฑ์การขอพระราชทาน แนวทางการขับเคลื่อนคุณธรรม การส่งเสริมและสนับสนุน องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เช่น ประเพณีท้องถิ่น อาหารพื้นบ้าน โบราณสถานและวัตถุ ศิลปะการแสดง
การศึกษาดูงาน ณ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มุ่งพัฒนาบัณฑิตที่มีความรู้ มีความสามารถ มี ทักษะการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคม และมีคุณธรรมจริยธรรม สามารถนำความรู้ทางด้านการพัฒนาเมือง และชนบท ไปใช้บูรณาการกับการพัฒนาสังคมชุมชน และท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ – มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนมีภาวะความเป็นผู้นำ สามารถ
ทำงานเป็นทีม
– มีความรู้ มีหลักการด้านการพัฒนาสังคม มีทักษะการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม ท้องถิ่น และประเทศชาติให้เข้มแข็งและยั่งยืน
– มีทักษะกระบวนคิดอย่างมีวิจารณญาณ ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ประเด็นปัญหาในสังคม วางแผนแก้ไขปัญหาทางสังคมอย่างเป็นระบบ
– มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมี ความสุขอันจะนำไปสู่สังคมสันติต่อไป
– สามารถนำเสนอสารสนเทศและเทคโนโลยี และสามารถนำเทคโนโลยีไป ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
โครงสร้างหลักสูตร
1. จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 125 หน่วยกิต
2. โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็น 3 หมวดวิชาซึ่งสอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2552 ดังนี้
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 89 หน่วยกิต
– วิชาเอกบังคับ 65 หน่วยกิต
– วิชาเอกเลือก 24 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
• นักพัฒนาสังคมและนักพัฒนาชุมชน ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
• นักวิชาการด้านการวางแผนพัฒนาสังคม และนักวิชาการด้านการวางแผนพัฒนาชุมชนในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
• นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
• นักสังคมสงเคราะห์ระดับปฏิบัติการในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
• นักวิจัยทางด้านการพัฒนาสังคม ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
• เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม ในหน่วยภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรไม่แสวงผลกำไร
โดยมีหัวข้อในการศึกษาดูงาน ได้แก่ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตร ปรัชญา วัตถุประสงค์ อาชีพที่ สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ระบบการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การลงทะเบียนเรียน อาจารย์ประจำหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปัญหาและการปรับหลักสูตรให้สอดรับกับ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
การศึกษาดูงาน ณ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ
คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการมุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ ทักษะแนวคิดเชิงวิเคราะห์ การใช้ระบบสารสนเทศ การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี และความสามารถในการใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี อาหารและโภชนาการควบคู่กับการใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม และสามารถนำความรู้ที่ได้ไป ประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณธรรม
จริยธรรมตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
การเรียนหลักๆ จะเกี่ยวกับพื้นฐานด้านอาหารและโภชนาการ และเน้นเรียนการแปรรูป และกระบวนการผลิตอาหารในเชิงอุตสาหกรรม หลักการผลิตและควบคุมคุณภาพอาหาร
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
• หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
• หมวดวิชาเฉพาะด้าน 93 หน่วยกิต
• หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ปี 1 เรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไป
ปี 2 ถึง ปี 4 วิชาเฉพาะสาขา เจาะลึกด้านเทคโนโลยีอาหาร และโภชนาการโดยเฉพาะ เช่น
– พื้นฐานด้านอาหารและโภชนาการ
– องค์ประกอบทางเคมีอาหาร และปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น แล้วส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมสมบัติต่างๆ ของอาหาร
– เชื้อจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ทำให้อาหารเสื่อมเสียหรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้อย่างไร
– หลักการแปรรูปอาหาร การประกันและควบคุมคุณภาพในการผลิตอาหาร
– ศึกษาดูงาน/ฝึกงาน ในสถานประกอบการด้านอาหาร
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
– นักวิชาการด้านเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการหน่วยงานภาคเอกชน
– นักวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการในหน่วยงานภาคเอกชน
– ฝ่ายควบคุมคุณภาพการผลิตในโรงงานแปรรูปอาหาร หรือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
– ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ในโรงงานแปรรูปอาหาร หรือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
– ฝ่ายจัดซื้อ/จัดหา วัตถุดิบและอุปกรณ์เครื่องมือ ที่ใช้ในโรงงานแปรรูปอาหาร หรือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร- จำหน่ายอุปกรณ์/ผลิตภัณฑ์/เครื่องมือ และเคมีภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ
– ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการเกษตร เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ และที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
– นักวิชาการด้านเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ
– นักวิทยาศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ
– นักวิจัยทางด้านเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ
– ครูในสถาบันการศึกษา (กรณีมีใบประกอบวิชาชีพครู)
โดยมีหัวข้อในการศึกษาดูงาน ได้แก่ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตร ปรัชญา วัตถุประสงค์ อาชีพที่ สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ระบบการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การลงทะเบียนเรียน อาจารย์ประจำหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ปัญหาและการปรับหลักสูตรให้สอดรับกับ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เยี่ยมชมห้องเรียนฝึกทำอาหาร อุปกรณ์ทำอาหาร การวางผังจัดเก็บ ห้องครัว ห้องทดลอง