หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ
(หลักสูตรปรับปรุง 2561)
หากท่านต้องการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ โปรดศึกษารายละเอียดหลักสูตรฉบับปรับปรุง 2565
Master of Science Program in Food System Management for Nutrition
ข้อมูลหลักสูตร
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ)
อักษรย่อ : วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Science (Food System Management for Nutrition)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : M.Sc. (Food System Management for Nutrition)
ปรัชญาของหลักสูตร
“หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ มุ่งผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะเป็นผู้นำในการบูรณาการศาสตร์ด้านอาหารและโภชนาการกับการเกษตรและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อการจัดการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่อาหารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ อันมีเป้าหมายสู่การพัฒนาสภาวะโภชนาการและสุขภาพของประชาชนตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับประเทศ “
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- มีความรู้และความสามารถในการคิด วิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์องค์ความรู้ในการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ
- ความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
- มีทักษะศึกษาค้นคว้าความรู้ได้ด้วยตนเอง กระตุ้นความใฝ่รู้ มุ่งมั่นและขยันหมั่นเพียรเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม และจริยธรรมในวิชาชีพด้านอาหารและโภชนาการ
- มีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเพื่อการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาด้านอาหารและโภชนาการ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ หรือสาขาวิชาอื่นๆ จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง
2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50
หมายเหตุ
1) ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1. – 2. ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและต้องไม่เคยถูกให้ออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอันเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
2) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาอื่นๆ มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาได้โดยพิจารณาจาก ผลการศึกษาและประสบการณ์ และต้องศึกษาเพิ่มอีก 1 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 71706 พื้นฐานอาหารและโภชนาการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาและมหาวิทยาลัย
3) กรณีผู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.50 มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาโดยพิจารณาจากประสบการณ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
4) ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษ เนื่องจากนักศึกษาระดับปริญญาโท ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป จะต้องดำเนินการดังนี้
4.1 ต้องมีผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันทดสอบภาษาที่ได้มาตรฐาน หรือผลการทดสอบ STOU-EPT โดยสามารถส่งผลการทดสอบภาษาอังกฤษได้ภายในระยะเวลาที่ศึกษาตามหลักสูตร กรณี
4.2 กรณีไม่มีผลทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันทดสอบภาษาที่ได้มาตรฐาน หรือผลการทดสอบ STOU-EPT สามารถเลือกเรียนรายวิชา 11701 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 1 หรือเข้ารับการอบรมเข้มพิเศษภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นผู้จัด (Intensive Training English Course)
4.3 ระดับคะแนนทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษให้ถือว่าเป็นการยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาโทตามเกณฑ์ที่แต่ละสาขาวิชากำหนด
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ครู/อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา
- นักวิชาการ/นักวิจัย/ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ
- นักวิชาการ/นักวิจัย/ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิ บริษัท
- ที่ปรึกษา/ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ
- ผู้บริหาร หรือผู้ประกอบการธุรกิจในระดับครัวเรือน ชุมชน และอุตสาหกรรมอาหาร
- ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว