หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ
ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565
Master of Science Program in Food System Management for Nutrition
ข้อมูลหลักสูตร
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ)
อักษรย่อ : วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Science (Food System Management for Nutrition)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : M.Sc. (Food System Management for Nutrition)
ปรัชญาของหลักสูตร
“หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ มุ่งสร้างมหาบัณฑิตและพัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะเป็นผู้นำในการบูรณาการศาสตร์ด้านอาหารและโภชนาการกับการเกษตรและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อการจัดการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่อาหารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยี
ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ อันมีเป้าหมายสู่การพัฒนาสภาวะโภชนาการและสุขภาพของประชาชนตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับประเทศ”
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- มีความรู้และความสามารถในการคิด วิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์องค์ความรู้ในการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ
- มีความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
- มีทักษะการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีวิจารณญาณ กระตุ้นความใฝ่รู้ มุ่งมั่นและขยันหมั่นเพียรเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม และจริยธรรมในวิชาชีพด้านอาหารและโภชนาการ
- มีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมต่อการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่สภาสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ รับรอง และ
2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีตั้งแต่ 2.30 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า หรือ
3. คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
หมายเหตุ
1) ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1. แต่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.30 จากระบบ 4 ระดับคะแนน ให้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาทดลองเรียนได้
2) ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มิใช่สาขาวิชาด้านอาหารและโภชนาการ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ อาจต้องศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ครู/อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา
- นักวิชาการ/นักวิจัย/ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมไปถึงหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิ บริษัท และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เป็นต้น
- ที่ปรึกษา/ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ
- ผู้บริหาร หรือผู้ประกอบการธุรกิจในระดับครัวเรือน ชุมชน และอุตสาหกรรมอาหาร
- ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว